By clicking “Accept All Cookies”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts.
Cookies Settings
การมีส่วนร่วมของชุมชน

ความสำคัญ

ดาวน์โหลดนโยบายการมีส่วนร่วมของชุมชน (PDF)

ความสำคัญและความมุ่งมั่นขององค์กร

บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียดังพันธกิจที่ตั้งไว้ เพื่อสร้างความไว้วางใจและสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชุมชนซึ่งเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนได้เสียหลัก บริษัทฯ มุ่งเน้น “กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม” ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินงาน โดยยึดมั่นในนโยบายด้านการพัฒนาชุมชนของบริษัทฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของคนในชุมชน มุ่งสร้างความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว รวมถึงได้รับการยอมรับจากชุมชน

แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัทฯ ประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมก่อนเริ่มพัฒนาโครงการ และในกรณีมีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินโครงการ พร้อมทั้งสื่อสารผลการประเมินให้ชุมชนรับทราบ เพื่อให้มั่นใจว่าชุมชนได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียและศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ทั้งก่อนเริ่มโครงการและระหว่างการดำเนินงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนได้ดียิ่งขึ้น

บริษัทฯ จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชน (Community Consultative Committee: CCC) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากชุมชนรวมทั้งกลุ่มเปราะบาง ภาครัฐ และบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ จัดให้มีหน่วยงานชุมชนสัมพันธ์ในแต่ละหน่วยธุรกิจ เพื่อบริหารจัดการการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างใกล้ชิดและเพื่อให้มั่นใจว่าโครงการพัฒนาทั้งหมดเป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้แนวทางการมีส่วนร่วมกับชุมชนในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไปตามลักษณะธุรกิจและบริบทของชุมชนในท้องถิ่น


Stakeholder
engagement manual

ภาพรวมการดำเนินงานในรอบปี

ในปี 2566 บริษัทฯ ดำเนินการสานเสวนากับชุมชนผ่านการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชนในอินโดนีเซียรวม 27 ครั้ง และประชุมคณะอนุกรรมการระดับกลุ่มเหมืองในออสเตรเลียจำนวน 21 ครั้ง โดยตลอดปี 2566 บริษัทฯ ไม่ได้รับข้อร้องเรียนใหม่จากชุมชน อีกทั้งได้ดำเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นในปี 2565 เรียบร้อยทั้งหมด อันประกอบด้วยข้อร้องเรียนเรื่องเสียงรบกวนในออสเตรเลีย และประเด็นการรั่วไหลของน้ำมันในเวียดนาม นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนในอินโดนีเซียและออสเตรเลีย โดยผลสำรวจพบว่าความพึงพอใจในอินโดนีเซียอยู่ในระดับต่ำ เนื่องด้วยความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตหลังการปิดเหมือง ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อความยั่งยืนต่อไป ในขณะที่ผลสำรวจการรับรู้ของชุมชนในออสเตรเลีย พบว่าอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ

การสำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทฯ ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนในการดำเนินงานโครงการพัฒนาชุมชน 13 โครงการ ในเหมือง 5 แห่ง ผลสำรวจพบว่าระดับความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 83 ซึ่งอยู่ในระดับสูง อันสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชนที่มีความสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจ

การประเมินผลกระทบด้านสังคม

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับผลกระทบที่อาจจะเกิดกับชุมชน จึงกำหนดให้หน่วยธุรกิจจัดทำการประเมินผลกระทบทางสังคม หรือ Social Impact Assessment (SIA) ในทุกหน่วยธุรกิจก่อนเริ่มดำเนินโครงการ โดยข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินจะนำไปออกแบบกิจกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนโดยการลดหรือหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อชุมชนเป็นหลัก รวมถึงเปรียบเทียบผลจากการบรรเทาผลกระทบก่อนการสิ้นสุดสัมปทาน นอกจากนี้หากมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการที่มีนัยสำคัญในระหว่างดำเนินการ บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีการประเมินผลกระทบทางสังคมใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่ถูกปรับเปลี่ยนไป

ธุรกิจ สถานะ จำนวนหน่วยธุรกิจ
ทั้งหมด ได้รับการประเมิน
ผลกระทบด้านสังคม
เปิดเผยผลการประเมิน
ธุรกิจเหมือง – อินโดนีเซีย เปิดดำเนินการ 5 5 5
อยู่ระหว่างการพัฒนา 3 3 NA
ธุรกิจเหมือง – ออสเตรเลีย เปิดดำเนินการ 5 5 5
อยู่ระหว่างการพัฒนา 2 2 2
ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน – จีน เปิดดำเนินการ 7 NA NA
อยู่ระหว่างการพัฒนา NA NA NA
ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน – ออสเตรเลีย เปิดดำเนินการ 2 2 2
อยู่ระหว่างการพัฒนา NA NA NA
ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน – เวียดนาม เปิดดำเนินการ 2 2 2
อยู่ระหว่างการพัฒนา 3 NA NA

หมายเหตุ:
NA = Not required to conduct SIA

เปิดเผยผลการประเมิน


การเก็บข้อมูลพื้นฐานชุมชน

บริษัทฯ ได้กำหนดให้เก็บข้อมูลพื้นฐานชุมชนในช่วงการดำเนินธุรกิจระยะต้น และปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันเป็นระยะเพื่อที่จะศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อม วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของชุมชนได้อย่างดีขึ้น (Community Baseline Data Collection) จากนั้น จะทำการปรึกษาหารือคณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชนหรือผู้แทนชุมชน (Community Consultation) ในการจัดทำแผนงานการพัฒนาชุมชนเฉพาะพื้นที่ (Community Engagement Plan) ต่อไป

การบริหารจัดการข้อร้องเรียนชุมชน

บริษัทฯ ได้กำหนดมาตรฐานการบริหารจัดการข้อร้องเรียนจากชุมชนและมีผู้มีส่วนได้เสีย (Community complaint management) ในทุกหน่วยธุรกิจให้สามารถบริหารจัดการข้อร้องเรียนที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างมีระบบ โดยแนวทางการดำเนินงานนี้ได้ครอบคลุมถึงการร้องเรียนของชนเผ่าพื้นเมืองในพื้นที่ (Indigenous peoples management) ชุมชนท้องถิ่น รวมถึงกรณีการโยกย้ายถิ่นฐานหากไม่สามารถหลีกได้ (Resettlement management) ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีการรายงานผลการบริหารจัดการข้อร้องเรียนที่ได้รับจากชุมชนแก่คณะกรรมการความยั่งยืนและคณะกรรมการ ESG ของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ

การจัดการข้อร้องเรียนของชุมชนเป็นกระบวนที่ช่วยให้คนในชุมชนสามารถแสดงความกังวลของตนได้ การจัดการกับข้อร้องเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญในการแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนที่เราสนับสนุนการพัฒนาและเป็นส่วนหนึ่งของบริบทด้านมนุษยธรรม นอกจากนี้ยังช่วยยกระดับการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM) ของเราโดยการลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เช่นกัน


Community complaint
management manual

การสอบทานคุณภาพ

บริษัทฯ ได้นำระบบการสอบทานคุณภาพ (Quality Assurance Review) โดยให้พนักงานที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับงานการพัฒนาชุมชน มาดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงาน เพื่อความโปร่งใสและมีประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งการสำรวจจะดำเนินการเป็นประจำทุกปี และทำให้ทราบแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพต่อไป

การจัดการข้อร้องเรียนในออสเตรเลีย

ในปี 2563 เหมืองแมนดาลองในออสเตรเลียได้ขยายโครงสร้างพื้นฐานโดยการสร้าง “Mandalong South Surface Site” ซึ่งรวมถึงการติดตั้งพัดลมระบายอากาสสำหรับการทำเหมืองใต้ดิน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้รับรายงานจากคนในชุมชนเกี่ยวกับเสียงรบกวนที่เกิดจากพัดลมเหล่านี้ หลังได้รับรายงาน บริษัทฯ ได้จัดการข้อร้องเรียนตามมาตรฐานการจัดการข้อร้องเรียนที่ประกอบด้วยการสื่อสารกับผู้ร้องเรียน การปรึกษากับคณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชน และการรายงานปัญหาต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

จากการปรึกษากับทุกภาคส่วน บริษัทฯ ดำเนินการแก้ไขโดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพัดลม เพื่อลดเสียงรบกวน การปรับปรุงดังกล่าวดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2566 และพบว่ามีระดับเสียงรบกวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจุบันบริษัทฯ ไม่ได้รับข้อร้องเรียนเพิ่มเติมในประเด็นปัญหานี้


การส่งเสริมการมีส่วนร่วมชุมชน

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ ระหว่างพัฒนาโครงการ และระยะสิ้นสุดโครงการ โดยเน้นให้สมาชิกในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมพัฒนาชุมชน ดำเนินกิจกรรมและตรวจสอบการดำเนินงาน รวมทั้งการประเมินผล เช่น การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนที่ตรงตามความต้องการของชุมชน และสอดคล้องกับแผนการพัฒนาของภาครัฐ เป็นต้น โดยบริษัทฯ ได้ร่วมกับชุมชนจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาชุมชน (Community Consultative Committee: CCC) ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากชุมชน รัฐบาลในท้องถิ่น และบริษัทฯ เพื่อร่วมกันวางแผนดำเนินงานแต่ละโครงการ ติดตามความก้าวหน้า และร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของสังคมส่วนรวม

บริษัทฯ ส่งเสริมการร่วมมือกับผู้รับเหมาในการทำงานด้านพัฒนาชุมชน ซึ่งมีผู้รับเหมาของบริษัทฯ หลายรายที่ทำงานพัฒนาชุมชนควบคู่ไปด้วย บริษัทฯ จึงได้ประสานความร่วมมือ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนร่วมกัน ตั้งแต่การวางแผน การจัดสรรงบประมาณ การจัดสรรบุคลากร การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลข่าวสาร ซึ่งสามารถทำให้การดำเนินโครงการพัฒนาชุมชน มีประสิทธิภาพมากขึ้น ครอบคลุมผู้ได้รับประโยชน์มากขึ้น และลดการซ้ำซ้อนของการบริหารจัดการโครงการพัฒนาชุมชนในพื้นที่


ผลลัพธ์ทางสังคม

การประเมินผลตอบแทนทางสังคม

ในการวัดผลกระทบจากการมีส่วนร่วมกับชุมชน บริษัทฯ ใช้กรอบการประเมินผลตอบแทนทางสังคม หรือ SROI ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาชุมชน 6 โครงการ ในพื้นที่เหมือง 5 แห่ง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังใช้การวัดระดับความยั่งยืน (Maturity measurement) เพื่อประเมินความยั่งยืนของโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนใน 6 มิติ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง การมีส่วนร่วม การบริหารจัดการ ความร่วมมือ ผลกระทบ และความยั่งยืน ทั้งนี้ มิติทั้ง 6 ด้านดังกล่าวครอบคลุมการดำเนินงานของเหมืองในอินโดนีเซียทั้งหมด

ตัวอย่างการประเมินผลตอบแทนทางสังคมในโครงการพัฒนาชุมชน

การประเมินผลกระทบทางสังคม

ตั้งแต่เริ่มต้นการพัฒนาโครงการ บริษัทฯ ได้ดำเนินการประเมินผลกระทบทางสังคมหรือ SIA ในทุกหน่วยธุรกิจ ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าบริษัทฯ มีความเข้าใจผลกระทบทางสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ ทั้งนี้หากมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใดๆ เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการ บริษัทฯ จะทบทวนการประเมินผลกระทบทางสังคมเพื่อการจัดการและแก้ไข โดยบริษัทฯ จะสื่อสารรายงานการประเมินที่ได้รับจากการปรับปรุงดังกล่าวไปยังผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ อนึ่ง การประเมินผลกระทบทางสังคมนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร

การวัดผลการดำเนินงานทางสังคม
ระบบ CEMS

ระบบการจัดการข้อมูลการมีส่วนร่วมของชุมชน หรือ CEMS เป็นระบบที่ใช้รวบรวมข้อมูลผลกระทบทางสังคมของบริษัท ซึ่งได้ถูกออกแบบในการจัดเก็บ เรียกใช้ และจัดการข้อมูลในฐานข้อมูลที่ผู้ใช้งานสามารถใช้งานระบบได้ตลอดเวลา เพื่อนำข้อมูลไปใช้สื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อไป

บ้านปูฯ ริเริ่มการพัฒนาโครงการนี้โดยได้รับความร่วมมือจากผู้แทนพนักงานจากทุกประเทศในช่วงปลายปี 2562 ต่อมาระบบถูกพัฒนาให้มีความสมบูรณ์และได้ประกาศใช้งานอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน 2564

บ้านปู ให้ร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นในทุกพื้นที่ที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลักในการยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของสมาชิกชุมชนทุกคน การมีส่วนร่วมของชุมชนได้ถูกดำเนินการในประเทศออสเตรเลีย อินโดนีเซีย จีน เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ในปี 2565 ได้มีการดำเนินโครงการทั้งหมดจำนวน 153 โครงการ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางตรงต่อผู้รับประโยชน์จำนวน 74,522 ราย โดยมีสัดส่วนหลักที่โครงการพัฒนาด้านการศึกษาและโครงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งคิดเป็น 36.33% และ 28.92% ตามลำดับ

ภาพรวมผลการดำเนินงานทางสังคม
2564 – 2566

ภาพรวมผลการดำเนินงานทางสังคม

2564


 
2565

2566


กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์

Highlight

การสนับสนุนสตรีในอินโดนีเซีย การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนในสหรัฐฯ โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจในจีน

อินโดนีเซีย

จีน

ออสเตรเลีย

มองโกเลีย

เวียดนาม

สหรัฐอเมริกา


เสียงสะท้อนจากชุมชน

01
Banpu_CE_Testimonial_Indonesia_TH
02
03
04
Banpu_CE_Testimonial_China_TH
Banpu_CE_Testimonial_USA_TH
previous arrow
next arrow

มาตรฐานการดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับชุมชน

 การจัดการข้อร้องเรียนของชุมชน
 การจัดการการโยกย้ายถิ่นฐาน
 การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
 การดำเนินงานคณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชน
 การดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับชนเผ่าพื้นเมือง
 กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์
 การสำรวจการรับรู้ของชุมชน
 แนวทางการวัดผลกระทบทางสังคม
 การประเมินผลกระทบทางสังคม

© 2024 บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) | Banpu Public Company Limited. All rights reserved.