ประเด็นที่สำคัญต่อความยั่งยืนจะถูกประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญตามมาตรฐานการบริหารจัดการที่อ้างอิงจากมาตรฐานสากล Global Reporting Initiative (GRI) standard และ AA1000 AccountAbility Principle Standard (AA1000APS) โดยพิจารณาจากผลกระทบต่อบริษัทฯ และผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งครอบคลุมประเด็นด้านการกำกับดูแลกิจการ สิ่งแวดล้อม และสังคมที่ผู้มีส่วนได้เสียคาดหวังหรือให้ความสนใจ ทั้งนี้ ผลการประเมินประเด็นที่สำคัญต่อความยั่งยืนจะได้รับการทบทวนและอนุมัติจากคณะกรรมการการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นประจำทุกปี
ขั้นตอนการประเมินประเด็นที่สำคัญ
1. ระบุประเด็นความยั่งยืน
โดยนำประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียคาดหวังหรือให้ความสนใจจากกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียมาวิเคราะห์เทียบกับประเด็นแม่บท (Master list) ที่ได้จากการพิจารณาข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประเด็นที่สำคัญของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมใกล้เคียง ประเด็นที่กำหนดอยู่ในมาตรฐานและแบบประเมินด้านความยั่งยืนสากล และประเด็นที่เป็นข้อกังวลในระดับนานาชาติ
2. ระบุผลกระทบต่อบริษัทฯ
ประเมินระดับของผลกระทบโดยพิจารณาจากเกณฑ์ด้านการเงิน การดำเนินงาน กลยุทธ์ ชื่อเสียง และกฎหมาย ร่วมกับโอกาสในการเกิดเหตุการณ์ของประเด็นความยั่งยืนแต่ละประเด็น
3. ระบุผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย
ประเมินระดับของผลกระทบร่วมกับระดับอิทธิพลของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อบริษัทฯ ของประเด็นความยั่งยืนแต่ละประเด็น
4. จัดลำดับความสำคัญของประเด็น
แบ่งประเด็นความยั่งยืนเป็น 3 ระดับ ตามความสำคัญของผลกระทบต่อบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ประเด็นที่มีความสำคัญมาก ปานกลาง และน้อย