ความสำคัญ
ในการพัฒนาโครงการอาจมีความจำเป็นต้องมีการย้ายที่อยู่อาศัยของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ที่บริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้การบริหารจัดการด้านการย้ายถิ่นฐานจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในบางครั้ง ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นที่จะให้ความสำคัญกับการวางแผนการตั้งถิ่นฐานใหม่อย่างเหมาะสมด้วยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงมีการจัดการอย่างดี เพื่อให้แน่ใจว่าผู้มีส่วนได้เสียดังกล่าวจะมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี ซึ่งช่วยสร้างความไว้วางใจของชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนการได้รับการยอมรับทางสังคมในการดำเนินธุรกิจ
แนวทางการบริหารจัดการ
มาตรฐานการจัดการการตั้งถิ่นฐานใหม่ได้รับการพัฒนาขึ้น โดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นส่วนสำคัญของความยั่งยืนของบริษัทฯ โดยได้รับการพัฒนาตามแนวทางสากล เช่น ข้อกำหนดของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) และ International Council on Mining & Metals (ICMM) ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนว่าควรหลีกเลี่ยงการตั้งถิ่นฐานใหม่โดยไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการตั้งถิ่นฐานใหม่ได้ บริษัทฯ จะปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัด ซึ่งประกอบด้วย 6 มาตรการหลักเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ภายใต้แนวปฏิบัติ 6 ขั้นตอน ดังนี้
1.การสร้างข้อตกลงร่วม เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ และสร้างข้อตกลงร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ
2.การจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐาน เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินการ
3.การร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อช่วยสนันสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
4.การรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาแผนการดำเนินงาน
5.การจัดทำแผนการดำเนินงาน เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงาน
6.การติดตามและประเมินผลปฏิบัติงาน เพื่อตรวจสอบว่าตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
การบริหารจัดการการย้ายถิ่นฐาน
มาตรฐานการจัดการการย้ายถิ่นฐานของบริษัทฯ ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติตามแนวปฏิบัติสากล เช่น ข้อกำหนดของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) และ International Council on Mining and Metals (ICMM) โดยหลักการสำคัญคือการหลีกเลี่ยงการย้ายถิ่นฐานที่ไม่จำเป็นเนื่องจากส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของชุมชน อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการวางแผนการย้ายถิ่นฐานด้วยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ภายใต้แนวปฏิบัติ 6 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างข้อตกลงร่วม (Mutual agreement setting) การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy formulation) การร่วมมือดำเนินงานกับผู้เชี่ยวชาญ (Expert consultation) การรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder consultation) การจัดทำแผนการดำเนินงาน (Resettlement planning) และการติดตามและประเมินผล (Monitoring & evaluation)
ในกรณีที่มีการอพยพย้ายถิ่นโดยไม่สมัครใจ บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะจัดการกระบวนการอย่างรับผิดชอบโดยการพิจารณาทางเลือก การปรับปรุงและฟื้นฟูวิถีชีวิตและมาตรฐานการครองชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง โดยดำเนินการภายใต้การปรึกษาหารือ การชดเชยที่เป็นธรรม การให้ความช่วยเหลือ และการติดตามการตั้งถิ่นฐานใหม่ในกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน