ความสำคัญ
ด้วยลักษณะเฉพาะของธุรกิจเหมืองที่พื้นที่ปฏิบัติงานอยู่ใกล้กับชุมชน ซึ่งในบางพื้นที่อาจมีชนเผ่าพื้นเมืองอาศัยอยู่ ดังนั้น การเคารพ การคุ้มครองสิทธิ และการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมืองจึงถือเป็นหนึ่งในประเด็นที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญ
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัทฯ ประเมินเบื้องต้นก่อนเริ่มกิจกรรมการผลิตว่าหน่วยธุรกิจใดมีชนเผ่าพื้นเมืองอาศัยอยู่ใกล้เคียงพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยหากพบว่าหน่วยธุรกิจใดมีชนเผ่าพื้นเมืองอาศัยอยู่ บริษัทฯ จะดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน เช่น ข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้พัฒนาแผนการบริหารจัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมืองที่เหมาะสมสำหรับทุกหน่วยธุรกิจ เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและหลีกเลี่ยงการเกิดเหตุการณ์ละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง
อินโดนีเซีย | ออสเตรเลีย | |
---|---|---|
ชนเผ่าพื้นเมือง | ชาวดายัค: Tunjung Benuaq และ Bentain | ชาวอะบอริจิน |
หน่วยธุรกิจ | เหมืองทรูบาอินโดและเหมืองบารินโต | เหมืองแอร์ลี เหมืองสปริงเวล เหมืองคลาเรนซ์ เหมืองไมยูนา และเหมืองแมนดาลอง |
แนวทางการมีส่วนร่วม | · ดำเนินการภายใต้กฎหมายตามจารีตประเพณีของกลุ่ม (Adat Law) ซึ่งครอบคลุมแนวปฏิบัติของบุคคลภายนอกกลุ่มที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในบริเวณที่อยู่อาศัยของชาวดายัค · จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชนโดยมีตัวแทนชาวดายัคเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ · พัฒนาโครงการเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและยกระดับคุณภาพชีวิตของ ชาวดายัค |
· ดำเนินงานตามแผนการบริหารจัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาวอะบอริจิน สำหรับกลุ่มเหมืองทางตะวันตกและทางเหนือ โดยปฏิบัติตามกฎหมายและแนวทางการบริหารที่เกี่ยวข้อง อาทิ Aboriginal Land Rights Act (1983), Heritage Act (1977) และ Environmental Planning & Assessment Act 1979 · จัดตั้งคณะอนุกรรมการ โดยประกอบด้วยตัวแทนจากกลุ่มชาวอะบอริจินที่ขึ้นทะเบียนกับทางบริษัทฯ · ประเมินผลกระทบทางสังคม และจัดประชุมกับชาวอะบอริจินปีละ 2 ครั้ง · สนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของชาวอะบอริจิน |