ในการพิจารณาประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ บริษัทฯ ใช้มาตรฐานการบริหารจัดการการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Analysis) ที่อ้างอิงจากมาตรฐานสากล AA1000 Stakeholder Engagement Standard (AA1000SES) ภายใต้ 3 หลักการที่สำคัญ ได้แก่ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน (Inclusivity) การพิจารณาประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสีย (Materiality) และการบริหารจัดการที่เป็นระบบและการเปิดเผยผลการดำเนินงานด้วยความโปร่งใส (Responsiveness) ทั้งนี้ แต่ละหน่วยธุรกิจมีหน้าที่วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของตนเอง โดยผลการวิเคราะห์ของแต่ละหน่วยธุรกิจจะถูกรวบรวมและวิเคราะห์ในระดับองค์กรอีกครั้งภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการพัฒนาที่ยั่งยืน
ขั้นตอนการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย
1. การระบุผู้มีส่วนได้เสีย
โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ภาวะพึ่งพา ความรับผิดชอบ อิทธิพล รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
2. การระบุระดับผลกระทบของบริษัทฯ ต่อผู้มีส่วนได้เสีย
โดยประเมินผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
3. การระบุระดับอิทธิพลของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อบริษัทฯ
โดยประเมินอิทธิพลของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งทางด้านการเงิน การดำเนินงาน กฎระเบียบข้อบังคับ ชื่อเสียง และกลยุทธ์
4. การจัดกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
โดยแบ่งผู้มีส่วนได้เสียออกเป็น 4 กลุ่ม ตามระดับผลกระทบที่บริษัทฯ มีต่อผู้มีส่วนได้เสียและระดับอิทธิพลที่ผู้มีส่วนได้เสียมีต่อบริษัทฯ
5. การจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย
โดยระบุแนวทางการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม อาทิ การสัมภาษณ์ สำหรับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบมาก และมีอิทธิพลมาก เป็นต้น
ช่องทางการมีส่วนร่วมและประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ
ผู้มีส่วนได้เสีย | ช่องทางการมีส่วนร่วม | ประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ | หัวข้อในรายงานฉบับนี้ |
---|---|---|---|
พนักงาน | • การสื่อสารระหว่างแผนกทรัพยากรมนุษย์กับพนักงาน • การเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมผ่านการจัดตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ • ช่องทางรับข้อร้องเรียน • การสำรวจความสอดคล้องของพฤติกรรมพนักงานกับวัฒนธรรมองค์กร • การสำรวจระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน • การจัดประชุมใหญ่ของบริษัทฯ (Town Hall) |
• ทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ | • ความท้าทายและโอกาส |
• จริยธรรมทางธุรกิจขององค์กรและความรับผิดชอบต่อพนักงาน | • จริยธรรมทางธุรกิจ | ||
• ความสุขในการทำงาน • ค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์ที่เป็นธรรม • ความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน |
• การดูแลพนักงาน | ||
• การพัฒนาความรู้ความสามารถในการทำงาน | • การพัฒนาทรัพยากรบุคคล | ||
• สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย | • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย | ||
ชุมชน | • คณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชน • การสำรวจความคิดเห็นของชุมชน • ช่องทางรับข้อร้องเรียน • การสื่อสารผ่านพนักงานชุมชนสัมพันธ์ • การเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ |
• ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทฯ | • การมีส่วนร่วมของชุมชน • คุณภาพอากาศ ของเสียจากกระบวนการผลิต |
• ความปลอดภัยในชีวิตและที่อยู่อาศัย | • การย้ายถิ่นฐาน | ||
• การเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของชุมชน | • สิทธิมนุษยชน • ชนเผ่าพื้นเมือง |
||
• การพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน | • การแบ่งปันทางเศรษฐกิจ • การพัฒนาชุมชน |
||
ลูกค้า | • การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า • ช่องทางรับข้อร้องเรียน • การเข้าพบในวาระต่าง ๆ • การตอบสนองต่อการร้องขอในการเปิดเผยข้อมูล • การรายงานแผนการซ่อมบำรุงประจำปีและการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉิน • การแจ้งขอความยินยอมในการใช้ข้อมูล • กระบวนการคุ้มครองข้อมูล |
• คุณภาพและราคาของผลิตภัณฑ์ • ความตรงต่อเวลาในการจัดส่งผลิตภัณฑ์ |
• ความรับผิดชอบต่อลูกค้าและผลิตภัณฑ์ |
• ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์ | • ความรับผิดชอบต่อลูกค้าและผลิตภัณฑ์ • ก๊าซเรือนกระจก |
||
• ความพร้อมของจ่ายของสินค้าและการบริการ | • ความพร้อมจ่ายและความเชื่อถือได้ของโรงไฟฟ้า | ||
• การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล • การจัดเก็บและการใช้ข้อมูล |
• การคุ้มครองข้อมูลและระบบสารสนเทศ | ||
ภาครัฐ | • การเข้าพบในโอกาสต่าง ๆ • การเข้าร่วมและสนับสนุนโครงการที่จัดโดยภาครัฐ • การตอบสนองต่อการร้องขอในการเปิดเผยข้อมูล • การจัดทำรายงานประจำปีและรายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน • การเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ |
• การสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคม | • การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน • กิจกรรมเพื่อสังคม |
• จริยธรรมทางธุรกิจขององค์กร • ความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูล |
• จริยธรรมทางธุรกิจ | ||
• การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ | • การปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม • การปฏิบัติตามกฎหมายด้านสังคมและเศรษฐกิจ |
||
• การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด | • พลังงาน น้ำ | ||
• การบริหารห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ | • การบริหารจัดการคู่ค้า • ความรับผิดชอบต่อลูกค้าและผลิตภัณฑ์ |
||
• ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทฯ | • ก๊าซเรือนกระจก • น้ำ คุณภาพอากาศ ของเสียจากกระบวนการผลิต • ความหลากหลายทางชีวภาพ • การดำเนินงานตามแผนการปิดเหมือง |
||
• การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน | • การสนับสนุน SDGs • การสนับสนุน UN Global Compact |
||
คู่ค้า | • การประชุมระหว่างบริษัทฯ และคู่ค้า • กระบวนการคุ้มครองข้อมูล |
• การจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส และการจ่ายผลตอบแทนที่เป็นธรรม | • จริยธรรมทางธุรกิจ |
• โอกาสดำเนินงานร่วมกับบริษัทฯ ในอนาคต | • การบริหารจัดการคู่ค้า | ||
• การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล | • การคุ้มครองข้อมูลและระบบสารสนเทศ | ||
ผู้รับเหมา | • การประชุมระหว่างบริษัทฯ และผู้รับเหมา • การประชุมผู้รับเหมาประจำปี |
• การจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส และการจ่ายผลตอบแทนที่เป็นธรรม | • จริยธรรมทางธุรกิจ |
• สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย | • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย | ||
• การลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต | • พลังงาน | ||
• โอกาสดำเนินงานร่วมกับบริษัทฯ ในอนาคต | • การบริหารจัดการคู่ค้า | ||
สถาบันการเงิน | • การจัดประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ • การจัดทำรายงานประจำปีและรายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน |
• ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ | • จริยธรรมทางธุรกิจ |
• ผลการดำเนินงานและการเติบโตทางธุรกิจ | • ผลการดำเนินงานในรอบปี | ||
ผู้ร่วมลงทุน | • การประชุมกรรมการในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม • การจัดทำรายงานประจำปีและรายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน • การรายงานแผนการซ่อมบำรุงประจำปีและการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉิน |
• ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ | • จริยธรรมทางธุรกิจ |
• ชื่อเสียงที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล | • รางวัลและความสำเร็จ | ||
• ผลการดำเนินงานและการเติบโตทางธุรกิจ | • ผลการดำเนินงานในรอบปี | ||
• ความต่อเนื่องทางธุรกิจ | • ความพร้อมจ่ายและความเชื่อถือได้ของโรงไฟฟ้า | ||
ผู้ถือหุ้น | • การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี • การจัดทำรายงานประจำปีและรายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน • ช่องทางรับข้อร้องเรียน • การเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ |
• คุณสมบัติของคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหาร | • โครงสร้างการบริหารงาน |
• ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ | • จริยธรรมทางธุรกิจ | ||
• การบริหารจัดการโอกาสและความเสี่ยง | • การบริหารจัดการความเสี่ยง • การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ |
||
• การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ | • การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล | ||
• ผลการดำเนินงานและการเติบโตทางธุรกิจ | • ผลการดำเนินงานในรอบปี | ||
นักลงทุน | • การนำเสนอข้อมูลเพื่อการลงทุน (Roadshow) • การนำเสนอข้อมูลในงาน Opportunity Day ที่จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย • การจัดทำรายงานประจำปีและรายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน • การเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ |
• คุณสมบัติของคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหาร | • โครงสร้างการบริหารงาน |
• ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ | • จริยธรรมทางธุรกิจ | ||
• การดำเนินธุรกิจที่สร้างคุณค่าให้แก่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม | • การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน | ||
• การบริหารจัดการโอกาสและความเสี่ยง | • การบริหารจัดการความเสี่ยง • การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ |
||
• ผลการดำเนินงานและการเติบโตทางธุรกิจ | • ผลการดำเนินงานในรอบปี | ||
สื่อมวลชนและภาคประชาสังคม | • การตอบสนองต่อการร้องขอในการเปิดเผยข้อมูล • การทำหนังสือสรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบริษัทฯ • การเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ |
• การสร้างคุณค่าให้แก่เศรษฐกิจและสังคม | • การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน |
• จริยธรรมทางธุรกิจขององค์กร | • จริยธรรมทางธุรกิจ | ||
• ความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูล | • ผลการดำเนินงาน | ||
• การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ | • การปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม • การปฏิบัติตามกฎหมายด้านสังคมและเศรษฐกิจ |
||
• ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทฯ | • ก๊าซเรือนกระจก • น้ำ คุณภาพอากาศ ของเสียจากกระบวนการผลิต • การมีส่วนร่วมของชุมชน |